การใช้คำกริยาที่ตามด้วยกรรมสองชุด (Verb+objects) EP1

รู้ไหมว่ากริยาบางตัวนั้นสามารถตามด้วยกรรมถึง 2 ชุด โดยกรรมตัวแรก เรียกว่า Indirect object (IO) ก็คือคนหรือกลุ่มคน ในขณะที่กรรมตัวที่สองเรียกว่า Direct object (DO) คือสิ่งของบางอย่าง

ตัวอย่าง

Can you bring me some coffee from the shop? จากประโยคนี้ เราสามารถแยกกรรมแต่ละแบบได้ดังนี้

  • Indirect object (IO) = bring me (คน)
  • Direct object (DO) = some coffee (สิ่งของ)

คำกริยาหลายคำสามารถตามด้วยกรรม 2 ชุดข้างต้นหรือใช้ได้แค่ (DO) เท่านั้น เช่น I read a book. ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่กริยาตามด้วยกรรม 2 ชุดนี้ สามารถแปลย้อนกลับคำสั่งของกรรมได้ ถ้าเราใส่ for  หรือ to ก่อน (IO) นี่จึงเรียกว่า Preposition object

ตัวอย่าง

  • Can you pass me that ball?
  • Can you pass that ball to me?

กริยาตัวอื่นที่ใช้กับ for +object : book,buy,catch,choose,cook,fetch,find,get,make,order,pour,save

กริยาตัวอื่นที่ใช้กับ to+ object : award,give,hand,lend,offer,owe,show,teach,tell,throw

โดยเราจะใช้รูปแบบนี้ถ้าเราต้องการที่จะเจาะจงการสนใจกรรมหลัง for หรือ to เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ (IO) นั้นยาวกว่า (DO)

ตัวอย่าง

Sarah is taught music to a large number of children at the school.

ถ้า (DO) เป็น Pronoun รูปแบบก็จะเป็น (DO) + preposition + (IO) เป็นปกติ สำหรับรูปแบบที่ไม่มี Preposition มักจะหลีกเลี่ยงเนื่องจากจะเป็นรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง (bad style)

ตัวอย่าง

  • We bought it for them. แบบนี้ มากกว่าที่จะเขียน We bought them it. หรือ We bought it them.

แล้วมาติดตามเรื่องราวของ การใช้คำกริยาที่ตามด้วยกรรมสองชุด (Verb+objects) EP2