มาดูกันต่อเรี่องคำกริยาที่ตามด้วยกรรมสองชุด (Verb+objects) ในตอนที่ 2 นี้ จะอธิบายต่อถึง การใช้ To และ For เนื่องจากในบางครั้ง กริยาสามารถใช้ได้กับทั้ง to และ for แต่จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ
- to จะใช้แสดงความหมายในเชิงการโอนของบางสิ่งให้กับคนบางคน เช่น I hadn’t got time to visit Nancy, so I wrote a letter to
- for จะแสดงความหมายว่า คนบางคนได้ประโยชน์หรือผลได้จากของบางสิ่ง เช่น Nancy had broken her leg, so I wrote a letter for
โดยกริยาที่สามารถใช้ได้กับทั้ง to และ for ได้แก่ take,send,sing,sell,read,play,post,pay,bring,leave เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งการใช้ to และ for ก็มีความหมายที่คล้ายกันมากได้ เช่น Can you sing that song again to /for us? นอกจากนี้ยังมีหลักการคู่ของกรรมส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดควาหมายเดียวกันอีกดังนี้
Object + Object จะมีความหมายเหมือน Object + to + Object เช่น
I sold him the phone. จะมีความหมายเหมือน I sold the phone to him. แต่จะไม่เหมือน I sold the phone for him.
คำกริยาบางคำที่ตามด้วยกรรม 2 ชุดในบางครั้งก็ไม่สามารถแทนกรรมของ for และ to ได้เพราะแสดงความหมายไม่ถูกต้อง ดังตัวอย่างนี้ We all envied him his lifestyle. ถ้าแปลก็จะได้ประมาณว่าพวกเราอิจฉาวิถีการดำเนินชีวิตเขา ซึ่งไม่ใช่ We all envied his lifestyle for/to him. นั่นเอง